กำจัดหนู

ความรู้เกี่ยวกับหนู

หนู เป็นสัตว์ฟันแทะประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะเด่นชัดคือมีฟันคู่หน้าทั้งบนและล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษและคมมีลักษณะโค้งยื่น เพื่อใช้สำหรับกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ เพื่อให้ฟันหน้าซึ่งสามารถเจริญยาวได้ตลอดชีวิตของมัน มีขนาดสั้นพอเหมาะและคมอยู่เสมอ หนู มีความสำคัญ ทั้งทางด้านสาธารณสุข และการเกษตรทั้งนี้ เพราะหนูเป็นสัตว์แทะ ที่มีคุณสมบัติ ทางด้านชีววิทยาในการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสภาพต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี ลักษณะนิสัยของ หนู ชอบการกัดทำลายวัสดุ สิ่งของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นประจำ เช่น ตู้ โต๊ะ เพดานบ้าน สายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ ท่อน้ำ ผ้าม่าน สบู่ เครื่องประดับต่างๆ ตามถนน คันคูน้ำ คันนา หนู ก็จะขุดรูอาศัย เป็นผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมแซมอยู่เสมอ

ด้านการเกษตรนั้นส่วนใหญ่ก็เพื่อดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ต่อ ไป หากบ้านใดมีหนูย่อมมีความเสียหายจากการทำลายของ หนู ติดตามมา นอกจากผลเสียหายที่เกิดจากการกัดทำลายของ หนู ทำให้เสียหายด้านการเกษตรและเศรษฐกิจแล้ว ประกอบกับพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของมันทำให้มันเป็นตัวการสำคัญที่นำโรค ต่างๆ มาสู่คนได้ ดังนั้น จะศึกษาเรื่อง หนู ที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในทางสาธารณสุขและการเกษตรเท่านั้น หนูที่มี ความสำคัญทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะหนูที่อาศัยทำรังและหากินอยู่ในบ้านหรือบริเวณรอบๆ บ้าน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ มี 4 ชนิด ซึ่งน่าจะศึกษาเรื่องราวของแต่ละชนิด เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันต่อไปนี้

หนูนอร์เวย์ ( Rattus norvegicus)

บางที่เรียกหนูขยะ หนูท่อ หนูสีน้ำตาล หนูชนิดนี้เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล มีน้ำหนักตัว 300 – 350 กรัม บางตัวอาจมีน้ำหนักถึง 400 กรับ ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 180 – 250 มม. หางยาวประมาณ 150 – 220 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 35 – 40 มม. หูยาวประมาณ 17 – 23 มม.

ลักษณะรูปร่าง  
ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ห้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบๆ ที่หาง และด้านบนของตีนหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่

ถิ่นที่อยู่อาศัย 
มักอยู่ตามรู ตามท่อระบายน้ำโสโครก ท่อน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะมูลฝอย ไม่ม่ชอบขึ้นที่สูง กินอาหารบูดเน่า พวกแป้ง ผัก เนื้อ และปลา

หนูท้องขาว ( Rattus rattus)

บางครั้งเรียก หนู หลังคา ( roof rat) เป็นหนูตระกูล Rattus ที่มีขนาดใหญ่ปานกลางรูปร่างเพรียว มีน้ำหนักตัว 90-250 กรัม บางตัวอาจมีน้ำหนัก 360 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 182 มม. หางยาวประมาณ 188 มม. ตีนหลังยาว ประมาณ 33 มม. ความยาวใบหูประมาณ 23 มม. มีเต้านมรวม 5-6 คู่ อยู่ที่อก 2 คู่ที่ท้อง 3 คู่

ลักษณะรูปร่าง 
ขนด้านหลังมีสีน้ำตาล (ฐานขนสีเทาปลายสีน้ำตาล) ไม่มีขนคล้ายหนาม (spine) ขนส่วนท้องมีสีขาวปนเทาหรือเหลืองครีม จมูกแหลม ตาโปน มีขนาดหูใหญ่ หางมีสีดำและมีเกล็ดละเอียดตลอดหาง ความยาวของหางมากกว่าความยาวของลำตัว

ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบอาศัยอยู่ตามอาคารบ้านเรือน หลังคาบ้าน บริเวณกันสาดใต้หลังคา ถ้าบริเวณรอบบ้านมีต้นไม้ แผ่กิ่งก้านสาขาอยู่ใกล้เคียงอาจพบหนูท้องขาวและรังอยู่บนต้นไม้นั้นด้วย มีความสามารถในการปีนป่ายเก่งกินอาหารทุกชนิด อาหารที่ชอบมากคือ เมล็ดพืช เช่น ข้าวเปลือก ถั่วข้าวโพด

หนูหริ่ง  ( Rattus exulans)

เป็นตระกูลของ Rattus ที่มีขนาดเล็ก แต่ตัวโตกว่าหนูหริ่ง น้ำหนักตัวประมาณ 36 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 115 มม. หางยาวประมาณ 128 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 23 มม. ความยาวหูประมาณ 16 มม. มีเต้านมรวม 4 คู่ อยู่ที่หน้าอก 2 คู่ ที่ท้อง 2 คู่

ลักษณะรูปร่าง 
รูปร่างเพรียว จมูกแหลม ตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีขนแข็ง (spine) ขึ้นแซมบ้างเล็กน้อย ขนด้านท้องสีเทา ผิวหางเรียบไม่มีเกล็ดมีสีดำตลอด

ถิ่นที่อยู่อาศัย 
ตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว

หนูหริ่ง ( Mus musculus)  
ตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว หรือบางครั้งเรียกว่า house mouse เป็นหนูในตระกูล Mus ชนิดที่พบเห็นตามบ้านเรือนมาก เป็นหนูบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุด มีน้ำหนักตัวเพียง 10 – 15 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 74 มม. หางยาวประมาณ 79 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 16 มม. ใบหูยาวประมาณ 12 มม. มีเต้านมรวม 5 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ และที่ท้อง 2 คู่

ลักษณะรูปร่าง 
จมูกแหลม ขนด้านหลังสีเทาบางทีมีสีน้ำตาลปน มีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนด้านท้องสีขาว ส่วนหางมี 2 สีด้านบนสีดำ ส่วนด้านล่างสีจางกว่า

ถิ่นที่อยู่อาศัย 
ตามบ้านเรือน มักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามตู้ โต๊ะ ที่เก็บของ ตามช่อง ฝาผนัง ตามครัว กินอาหารได้ทุกชนิด แต่ชอบพวกเมล็ดพืช

ชีววิทยาและพฤติกรรมของหนู
การสืบพันธุ์และการเจริญ เติบโตหนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความสามารถในการผสมพันธุ์ และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จากการศึกษาสำรวจพบว่า พวกหนูนอร์เวย์ และหนูท้องขาวสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21 – 22 วัน สำหรับหนูมีลูกติดๆ กันไม่หยุดในท้องหลังๆ อาจตั้งท้องนาน 23 – 29 วัน ส่วนในหนูหริ่งนั้น หลังผสมพันธุ์อาจตั้งท้องประมาณ 19 วัน ภายใน 48 ชั่วโมง หลังคลอด ความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น หนูท้องขาวอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี

พฤติกรรมของหนู
การ เป็นอยู่ทั่วๆ ไป หนูมีความสามารถในการเรียนรู้ คุ้นเคยและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดี การเป็นอยู่ในรังจะมีหัวหน้า ทำหน้าที่ออกสำรวจหาอาหาร หนูตัวเมียถ้ามีลูกโตพอสมควรมันจะพาลูก ๆ ออกไปหากินพร้อมๆ กัน และสอนให้ลูกๆ รู้จักหาอาหารโดยปลอดภัย ลูกหนูเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน แล้วมักแยกตัวมาอยู่อิสระในช่วงนี้หนูจะมีความรวดเร็วว่องไวในการเคลื่อนไหว และหากินมาก
การมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แปลกๆ
หนู มีความฉลาดเฉลียวในการสังเกตระมัดระวังต่อสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่คุ้นเคยต่างๆ รวมทั้งแสง เสียง อาหาร สภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นการวางยาเบื่อหรือใช้เหยื่อล่อใส่ในกรงหนูจึงต้องระมัดระวังให้มี ความพอเหมาะ เช่น การผสมยาเบื่อหนู ถ้าผสมข้นเกินไป กลิ่นแรงผิดสังเกตหนูจะไม่ยอมกินเหยื่อนั้น ต้องวางเหยื่อนั้นหลายๆ วัน จนหนูคุ้นเคยจึงผสมยาเบื่อให้หนูกิน หรือนำไปเป็นเหยื่อสำหรับล่อให้หนูมากิน
นิสัยการกินอาหาร
หนู สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด หนูมีช่วงเวลาออกหากินแตกต่างกันในแต่ละชนิด แต่เมื่อพบอาหารแล้วมักจะพยายามคาบไปซ่อนไว้ ถ้าอาหารเป็นชิ้นใหญ่มันจะใช้เวลาคาบหรือชักลากไป แต่ถ้าชิ้นอาหารเล็กมากมันจะกินตรงบริเวณนั้นไม่นำกลับ การกินอาหารใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคยมักเป็นในลักษณะชิม เพื่อทดสอบว่าอาหารนั้นเป็นพิษสำหรับมันหรือไม่
การแทะ
เป็น ธรรมชาติอย่างหนึ่งของหนูที่ฟันคู่หน้าของมันมีลักษณะ แข็งพอเหมาะและสามารถงอกยื่นยาวออกไปได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ประมาณปีละ 5 นิ้ว ดังนั้นหนูจึงมีความจำเป็นต้องกัดแทะอยู่เสมอ เพื่อลับฟันให้คมและมีขนาดสั้นพอเหมาะ โดยทั่วไปหนูจะเริ่มแทะเป็นตั้งแต่มีอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์

ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัดหน

1.การวางสถานีเหยื่อพิษกำจัดหนู

กำหนดตำแหน่งการวางกล่องใส่เหยื่อพิษ ทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกรอบตัวอาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของปัญหาและความเหมาะสมของ    สถานที่นั้น ทั้งนี้ตำแหน่งการวางต้องไม่อยู่ในบริเวณผลิตอาหาร โกดังเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับอาหารหรือบริเวณอื่น ๆ  ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวางเหยื่อ ได้แก่ กล่องไม้ กล่องพลาสติก กล่องเหล็ก ท่อพีวีซี เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการ

กำหนดปริมาณเหยื่อในแต่ละตำแหน่งการวาง เพี่อความสะดวกในการตรวจสอบ และติดตามผล

หากพบว่าเหยื่อที่วางเกิดการเสื่อมสภาพ หรือสูญหาย เราจะดำเนินการเปลี่ยนให้ใหม่ทันที 

2. การวางสถานีกาวดักจับหนู 

วางกาวดักหนูตามจุดที่กำหนดบางสถานที่อาจวางกาวดักหนูในกล่องสี่เหลี่ยมที่มีผาปิดมิดชิดที่มีช่องให้หนูเข้าไปได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความ     เหมาะสมของสถานที่

อาจมีอาหารหรือเหยื่อวางบริเวณกาวซึ่งจะมีการเปลี่ยนอาหารหรือเหยื่อทุกครั้งที่เข้าให้บริการ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่     ให้บริการ  

หากพบว่ากาวดักหนู เกิดเสื่อมสภาพไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ ทางบริษัท จะดำเนินการเปลี่ยนให้ใหม่ทันที

3. การวางกรงดักจับหนูและกับดักตีตาย

ตรวจสอบพื้นที่ที่จะวางกรงดักหนูตามความเหมาะสม เช่น บริเวณตามทางเดินของหนู หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู  

ในกรงมีเหยื่อหรืออาหารล่อไว้ทุกจุด   

เจ้าหน้าที่จะล้างทำความสะอาดกรงทุกครั้งที่พบว่ามีหนูติด

Posted in kamjudmalang-Cate.