กำจัดแมลงสาบ

ความรู้เ่กี่ยวกับแมลงสาบ
แมลงสาบ   เป็นแมลงดึกบรรพ์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานประมาณ 250 ล้านปี โดยสันนิษฐานจากหลักฐานซึ่งเป็น ฟอสซิล (fossil) ที่ถูกค้นพบ ตามการจำแนกแมลงทางวิทยาศาสตร์แมลงสาบถูกจัดกลุ่มไว้ในชั้น (class) Insicta, อันดับ(order) Orthoptera แต่บางครั้งพบว่าในตำราบางเล่มแมลงสาบอาจจะถูกจัดอันดับ Dictyoptera หรือ Blattodea ก็ได้ ซึ่งการจำแนกที่ แตกต่างกันเหล่านี้เกิดขึ้น จากการใช้ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน มาใช้ในการจำแนก แมลงสาบถูกจำแนกย่อยเป็นวงศ์ (family) ต่างๆกันได้ 5 วงศ์ คือ Blattidae, Blatteidec, Blaberidae, Cryptocercidae และ Polyphagidae จนกระทั่งปัจจุบันนี้ แมลงสาบ ที่พบทั่วโลกมีทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ชนิด  
แมลงสาบ มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะติดไปกับสินค้าจำพวกหีบห่อหรือลังไม้ที่ขนส่งไปทางเรือหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตามยังคงพบ แมลงสาบ ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไป แมลงสาบ ชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ห้องครัวในโรงพยาบาลหรือโรงแรม โกดังเก็บสินค้าทางการเกษตรหรือกระดาษ เป็นต้น  แมลงสาบ ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มืด อบอุ่น และมีความชื้นสูง ลักษณะโดยทั่วไปของ แมลงสาบ มีลำตัวแบนรีเป็นรูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1 ซม. ถึง 8 ซม. มีสีต่างๆกันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้ม หรือสีเขียวก็ได้ โดยทั่วไป แมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวของแมลงสาบมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านส่วนด้านล่างเรียวลง และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็กๆเชื่อมอยู่ แมลงสาบ อาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้  

โดยปกติพวกที่มีปีกเจริญดีจะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งแรงกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ปีกคู่หลังซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆจะซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของ แมลงสาบ จะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แมลงสาบ บางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้น ถึงแม้ว่า แมลงสาบ จะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่า ทั้งนี้จะบินในกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น แมลงสาบ มีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขาของ แมลงสาบ นั้นมีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้ แมลงสาบ วิ่งได้เร็วมาก แมลงสาบ มีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ ซึ่งมีขนเล็กๆจำนวนมากอยู่รอบๆหนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบดักเคี้ยว แมลงสาบ สามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษ หรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบ มีนิสัยชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ก็มี แมลงสาบ บางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน

วงจรของแมลงสาบ

แมลงสาบ มีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ ( Incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิต (life cycle) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg), ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph), และตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยมาก ต่างกันที่ขนาด ปีก และอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น แมลงสาบ วางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายฟอง และจะเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มด้วยสารเหนียวมีลักษณะเป็นแคปซูล หรือกระเปาะ รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว (ootheca) รูปร่างลักษณะของแคปซูลจะแตกต่างกับไปไม่แน่นนอนแล้วแต่ชนิดของ แมลงสาบ แมลงสาบ บางชนิดจะนำกระเปาะไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงปล่อยออกจากลำตัว แต่บางชนิดอาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (parthenogenesis) ก็ได้ ลักษณะ การวางไข่ของ แมลงสาบ แตกต่างกัน บางชนิดจะวางไข่ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจจะวางติดกับฝาผนังบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จำนวนไข่ในแต่ละกระเปาะจะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของ แมลงสาบด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 16/18 ฟอง แต่อาจจะวางได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-6 ชุด แต่บางชนิดอาจวางมากถึง 90 ชุด ก็ได้ อายุของไข่จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น ปกติไข่จะฟักได้เร็วในที่ๆมีอุณหภูมิสูง ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆจะมีสีขาวและไม่มีปีก มีการดำรงชีพแบบอิสระ (free living) เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ใน แมลงสาบ ที่มีปีกเกิดขึ้นมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆอยู่ทางด้านข้างของอกปล้องที่ 2 และ 3 และจะค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเจริญเต็มที่เมือเป็นตัวเต็มวัยแต่บางชนิดก็จะมีลักษณะเป็นติ่งยื่นออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็ตาม บางชนิดก็ไม่มีปีกเลย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของแมลงด้วย เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็จะมีการผสมพันธุ์และการวางไข่เกิดขึ้น หลังจากวางไข่หมดก็จะมีอายุต่อไปได้อีกหลายวัน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัด มด / แมลงสาบ  
1. เจ้าหน้าที่จะเข้าสำรวจพื้นที่ที่จะทำการบริการอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบดูปัญหามด/แมลงสาบ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเขียนผัง    อาคารอย่างละเอียด และบอกจุดที่เกิดปังหา มด/แมลงสาบ เช่น ที่ชื้นทึบ ท่อน้ำทิ้งต่าง ๆ สนามรอบอาคารที่จะทำบริการ   
2. หลังจากการสำรวจพื้นที่ที่จะทำบริการแล้วเจ้าหน้าที่ของ CPP จะเริ่มปฏิบัติงานบริการโดยการฉีดเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้างตามห้องต่างๆ ของ   อาคารสำนักงาน, โรงงาน หรือ ในจุดที่มีปัญหา มด/แมลงสาบ ที่ได้สำรวจไว้แล้ว พร้อมกับอบด้วย ULV ในจุดที่ชื้นทึบ เช่น ท่อน้ำทิ้งต่างๆ  ห้องเก็บของ, ใต้ถุน หรือในจุดที่สามารถกระทำได้ ตัวเคมีที่ใช้ฉีดและอบนี้จะทำลายไล่มด/แมลงสาบออกจากที่ซุกซ่อนต่าง ๆ  อย่างได้ผลและต่อเนื่อง  
3. ครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่จะเข้าทำการฉีดสเปรย์ด้วยน้ำยาเคมีในกลุ่มของ PYRETHROIDS หรือ เจลกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้าภายในห้องต่างๆ ของอาคารสำนักงาน, โรงงาน บริเวณนอกอาคารสำนักงาน, โรงงานโดยจะเน้นในจุดที่มีปัญหาเป็นจุดสำคัญเพื่อทำลายมด/แมลงสาบ โดยน้ำยา ที่แดจะออกฤทธิ์ภายใน 3-4 นาทีต่อมา และออกฤทธิ์ตกค้างต่อตัวอาคารสำนักงาน, โรงงานประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากที่ฤทธิ์ยาที่ฉีดไปแล้ว  3-4 นาที แมลงต่าง ๆ ที่ไวต่อตัวยานี้จะออกมาตายพร้อมกับมด/แมลงสาบ โดยฤทธิ์ยาที่ติดกับแมลงเหล่านี้จะออกฤทธิ์อย่างช้าๆ เพราะน้ำยา  ที่ใช้ไม่ใช่สารจำพวก “ น็อคดาวน์” คือไม่ตายทันที่แต่จะทำให้มด/แมลงสาบตายอย่างช้าๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยง  และรักษาสภาพแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะภายในบริเวณบริการ

กำจัดมด

ความรู้เกี่ยวกับมด

มด   เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์

วรรณของมด

1. มดราชินี  (queen)
เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย ( female) ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น
2. มดเพศผู้  (male)
เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี
3. มดงาน (worker)
เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “ มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ (แต่เล็กกว่ามดราชินี) อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “ มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

กำจัดปลวก

ความรู้เกี่ยวกับปลวก

ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายลิบล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้จะเริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน ทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยเชื่อมต่อระหว่างผนัง เสา และคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าว เพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

วงจรของปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรังโดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปเป็นวรรณะต่างๆ รวม  3  วรรณะคือ

1. วรรณะสืบพันธ์ หรือแมลงเม่า
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และกระจายพันธุ์โดยจะบินออกจากรังเมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เพื่อจับคู่กันและจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่
2. วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน
เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวลไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าทีเกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและทหารซึ่งไม่หาอาหารกินเองนอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
3. วรรณะทหาร
ป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้ม และแข็งมีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดับแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายเหลมคมเพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศบางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อย หรือพ่นไปติดตัวศัตรูทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้

นิเวศวิทยาของปลวก

สภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพทางนิเวศวิทยา รวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวกแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้างๆเป็น 2  ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักได้ ดังนี้

1. ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้
ปลวกชนิดนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยมีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับพื้นดินเลย ลักษณะทั่วไปที่บ่งชี้มีปลวกในกลุ่มนี้เข้าทำลายไม้คือ วัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรีอยู่ภายในเนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรง หรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้ เราอาจแบ่งปลวกประเภทนี้ เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกตามลักษณะความชื้นของไม้ที่ปลวกเข้าทำลาย ดังนี้
 1.1 ปลวกไม้แห้ง ( Dry-wood termites )
  ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ที่มีอายุใช้การมานานลีความชื้นต่ำ โดยปกติมักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็กๆกองอยู่บนพื้นบริเวณโคนเสาฝาผนัง หรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำ
ลายไม้เฉพาะภายไนชิ้นไม้โดยเหลือชิ้นไม้ด้านนอกเป็นฟิล์มบางๆไว้ ทำไห้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี
1.2 ปลวกไม้เปียก ( Damp-Wood termites )
  ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอยู่ในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มตายที่มีความชื้นสูง
2. ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน
ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดิน แล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดินหรือเหนือพื้นดินขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินดินห่อหุ้มตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น และ หลบซ่อนตัวจากศัตรูที่จะมารบกวน จำแนกเป็น 3 พวก คือ
 2.1ปลวกใต้ดิน ( Subterranean termites )
 เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น ปลวกในสกุล  Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes  และ  Hypotermes  เป็นต้น
 2.2 ปลวกที่อาศัยอยู่ตามจอมปลวก ( Mound-building termites )
 เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดินเช่นปลวกในสกุล  Globitermes, Odontotermes  และ Macrotermes  เป็นต้น
 2.3 ปลวกที่อาศัยอยู่ตามรังขนาดเล็ก( Carton nest termites )
 เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่นๆ ภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล  Microcerotermes, Termes, Dicuspiditermes, Nasutitermes  และ Hospitalitermes  เป็นต้น
แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเป็น  4  ประเภท คือ
1. ไม้ ( wood )

2. ดินและฮิวมัส ( Soil and Moss )

3. ใบไม้และเศษซากพืชที่ทับถมอยู่บนพื้นดิน ( Lave and litter )

4. ไลเคนและมอส (  Lichen and Moss  )

ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุ อื่นๆ ที่มีเซลลูโลส เป็นองค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียวคือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือมีจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย และเชื้อราในปลวกชั้นสูงซึ้งจะทำหน้าที่ช่วงในการย่อยอาหารประเภทเซลลูโลส หรือสารประกอบอื่นๆให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก
 

บริการระบบเหยื่อ กำจัดปลวก

บริการกำจัดปลวกด้วยระบบเหยื่อ (Termite Bait System) ปลวกตายยกรัง
เป็นระบบกำจัดปลวกอันดับ 1 จากประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ใช้สารเคมี เป็น นวัตกรรมใหม่ ล่าสุดแห่งการกำจัดปลวก แบบตายยกรัง ปลอดภัยต่อคน สัตว์เลี้ยง และ สิ่งแวดล้อมโดยผู้ชำนาญการแบบมืออาชีพ ที่ผ่านการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับ
จ้าง ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณะสุข ( อย. )
ภาพระบบเหยื่อ

บริการระบบอัดน้ำยา กำจัดปลวก

ระบบเจาะพื้นอัดสารเคมีกำจัดปลวกลงดิน ( Pest Construction System)  
คือการเจาะอัดสารเคมีลงพื้นของอาคารที่เป็นคอนกรีต เป็นการป้องกันปัญหาการเข้าทำ
ลายปลวกทุกจุดของอาคารและบริเวณรอบ ๆ ของตัวอาคาร

ขั้นตอนการปฏิบัติงานวางระบบท่อ

1.สำรวจสถานที่ประเมินสภาพปัญหาให้คำแนะนำการบริการวิธีทำบริการกำจัดปลวก และประเมินราคา
2.การเขาทำบริการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการเจาะพื้นตามจุดที่กำหนดไว้ โดยเจาะลึกประมาณ 20-40 เซนติเมตร เพื่ออัดสารเคมีชนิดนำลงดิน ในปริมาณ 5 ลิตร/จุด (สารเคมีที่ใช้ในอัตราส่วนที่ผสมแล้ว) การใช้สารเคมีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่ หากเป็นอาคารยกสูงฝ่ายบริการจะมุดเข้าอัดน้ำยาใต้ถุนอาคาร
3.จุดที่พบปัญหาปลวกหรือเสี่ยงต่อการเข้าทำลายของปลวกบริการด้วยวิธีการพ่นสารเคมีชนิดน้ำ หรือใส่เคมีชนิดผงที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการป้องกันกำจัดปลวก เช่น บริเวณที่มีความชื้นสูง พื้นที่สงบเงียบ ขอบบัว วงกบประตู-หน้าต่าง ฝ้าเพดาน ช่องชาร์ป รอยแตกร้าว ซึ่งการเลือกใช้สารเคมีชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่
4.เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบสถานที่ตามระยะเวลากำหนดไว้ในสัญญา