กำจัดหนู

ความรู้เกี่ยวกับหนู

หนู เป็นสัตว์ฟันแทะประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะเด่นชัดคือมีฟันคู่หน้าทั้งบนและล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษและคมมีลักษณะโค้งยื่น เพื่อใช้สำหรับกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ เพื่อให้ฟันหน้าซึ่งสามารถเจริญยาวได้ตลอดชีวิตของมัน มีขนาดสั้นพอเหมาะและคมอยู่เสมอ หนู มีความสำคัญ ทั้งทางด้านสาธารณสุข และการเกษตรทั้งนี้ เพราะหนูเป็นสัตว์แทะ ที่มีคุณสมบัติ ทางด้านชีววิทยาในการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสภาพต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี ลักษณะนิสัยของ หนู ชอบการกัดทำลายวัสดุ สิ่งของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นประจำ เช่น ตู้ โต๊ะ เพดานบ้าน สายไฟ สายโทรศัพท์ สายคอมพิวเตอร์ ท่อน้ำ ผ้าม่าน สบู่ เครื่องประดับต่างๆ ตามถนน คันคูน้ำ คันนา หนู ก็จะขุดรูอาศัย เป็นผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมแซมอยู่เสมอ

ด้านการเกษตรนั้นส่วนใหญ่ก็เพื่อดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ต่อ ไป หากบ้านใดมีหนูย่อมมีความเสียหายจากการทำลายของ หนู ติดตามมา นอกจากผลเสียหายที่เกิดจากการกัดทำลายของ หนู ทำให้เสียหายด้านการเกษตรและเศรษฐกิจแล้ว ประกอบกับพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของมันทำให้มันเป็นตัวการสำคัญที่นำโรค ต่างๆ มาสู่คนได้ ดังนั้น จะศึกษาเรื่อง หนู ที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในทางสาธารณสุขและการเกษตรเท่านั้น หนูที่มี ความสำคัญทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะหนูที่อาศัยทำรังและหากินอยู่ในบ้านหรือบริเวณรอบๆ บ้าน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ มี 4 ชนิด ซึ่งน่าจะศึกษาเรื่องราวของแต่ละชนิด เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันต่อไปนี้

หนูนอร์เวย์ ( Rattus norvegicus)

บางที่เรียกหนูขยะ หนูท่อ หนูสีน้ำตาล หนูชนิดนี้เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล มีน้ำหนักตัว 300 – 350 กรัม บางตัวอาจมีน้ำหนักถึง 400 กรับ ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 180 – 250 มม. หางยาวประมาณ 150 – 220 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 35 – 40 มม. หูยาวประมาณ 17 – 23 มม.

ลักษณะรูปร่าง  
ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ห้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบๆ ที่หาง และด้านบนของตีนหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่

ถิ่นที่อยู่อาศัย 
มักอยู่ตามรู ตามท่อระบายน้ำโสโครก ท่อน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะมูลฝอย ไม่ม่ชอบขึ้นที่สูง กินอาหารบูดเน่า พวกแป้ง ผัก เนื้อ และปลา

หนูท้องขาว ( Rattus rattus)

บางครั้งเรียก หนู หลังคา ( roof rat) เป็นหนูตระกูล Rattus ที่มีขนาดใหญ่ปานกลางรูปร่างเพรียว มีน้ำหนักตัว 90-250 กรัม บางตัวอาจมีน้ำหนัก 360 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 182 มม. หางยาวประมาณ 188 มม. ตีนหลังยาว ประมาณ 33 มม. ความยาวใบหูประมาณ 23 มม. มีเต้านมรวม 5-6 คู่ อยู่ที่อก 2 คู่ที่ท้อง 3 คู่

ลักษณะรูปร่าง 
ขนด้านหลังมีสีน้ำตาล (ฐานขนสีเทาปลายสีน้ำตาล) ไม่มีขนคล้ายหนาม (spine) ขนส่วนท้องมีสีขาวปนเทาหรือเหลืองครีม จมูกแหลม ตาโปน มีขนาดหูใหญ่ หางมีสีดำและมีเกล็ดละเอียดตลอดหาง ความยาวของหางมากกว่าความยาวของลำตัว

ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบอาศัยอยู่ตามอาคารบ้านเรือน หลังคาบ้าน บริเวณกันสาดใต้หลังคา ถ้าบริเวณรอบบ้านมีต้นไม้ แผ่กิ่งก้านสาขาอยู่ใกล้เคียงอาจพบหนูท้องขาวและรังอยู่บนต้นไม้นั้นด้วย มีความสามารถในการปีนป่ายเก่งกินอาหารทุกชนิด อาหารที่ชอบมากคือ เมล็ดพืช เช่น ข้าวเปลือก ถั่วข้าวโพด

หนูหริ่ง  ( Rattus exulans)

เป็นตระกูลของ Rattus ที่มีขนาดเล็ก แต่ตัวโตกว่าหนูหริ่ง น้ำหนักตัวประมาณ 36 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 115 มม. หางยาวประมาณ 128 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 23 มม. ความยาวหูประมาณ 16 มม. มีเต้านมรวม 4 คู่ อยู่ที่หน้าอก 2 คู่ ที่ท้อง 2 คู่

ลักษณะรูปร่าง 
รูปร่างเพรียว จมูกแหลม ตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีขนแข็ง (spine) ขึ้นแซมบ้างเล็กน้อย ขนด้านท้องสีเทา ผิวหางเรียบไม่มีเกล็ดมีสีดำตลอด

ถิ่นที่อยู่อาศัย 
ตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว

หนูหริ่ง ( Mus musculus)  
ตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว หรือบางครั้งเรียกว่า house mouse เป็นหนูในตระกูล Mus ชนิดที่พบเห็นตามบ้านเรือนมาก เป็นหนูบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุด มีน้ำหนักตัวเพียง 10 – 15 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 74 มม. หางยาวประมาณ 79 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 16 มม. ใบหูยาวประมาณ 12 มม. มีเต้านมรวม 5 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ และที่ท้อง 2 คู่

ลักษณะรูปร่าง 
จมูกแหลม ขนด้านหลังสีเทาบางทีมีสีน้ำตาลปน มีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนด้านท้องสีขาว ส่วนหางมี 2 สีด้านบนสีดำ ส่วนด้านล่างสีจางกว่า

ถิ่นที่อยู่อาศัย 
ตามบ้านเรือน มักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามตู้ โต๊ะ ที่เก็บของ ตามช่อง ฝาผนัง ตามครัว กินอาหารได้ทุกชนิด แต่ชอบพวกเมล็ดพืช

ชีววิทยาและพฤติกรรมของหนู
การสืบพันธุ์และการเจริญ เติบโตหนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความสามารถในการผสมพันธุ์ และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จากการศึกษาสำรวจพบว่า พวกหนูนอร์เวย์ และหนูท้องขาวสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21 – 22 วัน สำหรับหนูมีลูกติดๆ กันไม่หยุดในท้องหลังๆ อาจตั้งท้องนาน 23 – 29 วัน ส่วนในหนูหริ่งนั้น หลังผสมพันธุ์อาจตั้งท้องประมาณ 19 วัน ภายใน 48 ชั่วโมง หลังคลอด ความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น หนูท้องขาวอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี

พฤติกรรมของหนู
การ เป็นอยู่ทั่วๆ ไป หนูมีความสามารถในการเรียนรู้ คุ้นเคยและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดี การเป็นอยู่ในรังจะมีหัวหน้า ทำหน้าที่ออกสำรวจหาอาหาร หนูตัวเมียถ้ามีลูกโตพอสมควรมันจะพาลูก ๆ ออกไปหากินพร้อมๆ กัน และสอนให้ลูกๆ รู้จักหาอาหารโดยปลอดภัย ลูกหนูเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน แล้วมักแยกตัวมาอยู่อิสระในช่วงนี้หนูจะมีความรวดเร็วว่องไวในการเคลื่อนไหว และหากินมาก
การมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แปลกๆ
หนู มีความฉลาดเฉลียวในการสังเกตระมัดระวังต่อสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่คุ้นเคยต่างๆ รวมทั้งแสง เสียง อาหาร สภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นการวางยาเบื่อหรือใช้เหยื่อล่อใส่ในกรงหนูจึงต้องระมัดระวังให้มี ความพอเหมาะ เช่น การผสมยาเบื่อหนู ถ้าผสมข้นเกินไป กลิ่นแรงผิดสังเกตหนูจะไม่ยอมกินเหยื่อนั้น ต้องวางเหยื่อนั้นหลายๆ วัน จนหนูคุ้นเคยจึงผสมยาเบื่อให้หนูกิน หรือนำไปเป็นเหยื่อสำหรับล่อให้หนูมากิน
นิสัยการกินอาหาร
หนู สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด หนูมีช่วงเวลาออกหากินแตกต่างกันในแต่ละชนิด แต่เมื่อพบอาหารแล้วมักจะพยายามคาบไปซ่อนไว้ ถ้าอาหารเป็นชิ้นใหญ่มันจะใช้เวลาคาบหรือชักลากไป แต่ถ้าชิ้นอาหารเล็กมากมันจะกินตรงบริเวณนั้นไม่นำกลับ การกินอาหารใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคยมักเป็นในลักษณะชิม เพื่อทดสอบว่าอาหารนั้นเป็นพิษสำหรับมันหรือไม่
การแทะ
เป็น ธรรมชาติอย่างหนึ่งของหนูที่ฟันคู่หน้าของมันมีลักษณะ แข็งพอเหมาะและสามารถงอกยื่นยาวออกไปได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ประมาณปีละ 5 นิ้ว ดังนั้นหนูจึงมีความจำเป็นต้องกัดแทะอยู่เสมอ เพื่อลับฟันให้คมและมีขนาดสั้นพอเหมาะ โดยทั่วไปหนูจะเริ่มแทะเป็นตั้งแต่มีอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์

ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัดหน

1.การวางสถานีเหยื่อพิษกำจัดหนู

กำหนดตำแหน่งการวางกล่องใส่เหยื่อพิษ ทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกรอบตัวอาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของปัญหาและความเหมาะสมของ    สถานที่นั้น ทั้งนี้ตำแหน่งการวางต้องไม่อยู่ในบริเวณผลิตอาหาร โกดังเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับอาหารหรือบริเวณอื่น ๆ  ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวางเหยื่อ ได้แก่ กล่องไม้ กล่องพลาสติก กล่องเหล็ก ท่อพีวีซี เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่ให้บริการ

กำหนดปริมาณเหยื่อในแต่ละตำแหน่งการวาง เพี่อความสะดวกในการตรวจสอบ และติดตามผล

หากพบว่าเหยื่อที่วางเกิดการเสื่อมสภาพ หรือสูญหาย เราจะดำเนินการเปลี่ยนให้ใหม่ทันที 

2. การวางสถานีกาวดักจับหนู 

วางกาวดักหนูตามจุดที่กำหนดบางสถานที่อาจวางกาวดักหนูในกล่องสี่เหลี่ยมที่มีผาปิดมิดชิดที่มีช่องให้หนูเข้าไปได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความ     เหมาะสมของสถานที่

อาจมีอาหารหรือเหยื่อวางบริเวณกาวซึ่งจะมีการเปลี่ยนอาหารหรือเหยื่อทุกครั้งที่เข้าให้บริการ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่     ให้บริการ  

หากพบว่ากาวดักหนู เกิดเสื่อมสภาพไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ ทางบริษัท จะดำเนินการเปลี่ยนให้ใหม่ทันที

3. การวางกรงดักจับหนูและกับดักตีตาย

ตรวจสอบพื้นที่ที่จะวางกรงดักหนูตามความเหมาะสม เช่น บริเวณตามทางเดินของหนู หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู  

ในกรงมีเหยื่อหรืออาหารล่อไว้ทุกจุด   

เจ้าหน้าที่จะล้างทำความสะอาดกรงทุกครั้งที่พบว่ามีหนูติด

กำจัดยุง

ความรู้เกี่ยวกับยุง
ยุง   เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงมีในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว โดยปกติตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวาน นอกจากนี้ยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่นไข้เลือดออกยุงตัวเมียจะมีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ส่วนตัวผู้จะมีอายุประมาณ 4-5 วัน จะตายหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด พบในประเทศไทย ประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดีคือยุงก้นปล่อง (Anopheles) ยุงลาย (Aedes)

ลักษณะโดยทั่วไป
ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มิลลิเมตร บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มิลลิเมตร และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มิลลิเมตร ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่างง่ายๆ โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่ ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่

ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ ( holometabolous) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ , ลูกน้ำ , ตัวโม่ง และยุงตัวแก่

การเกิดของยุงจะแบ่งเป็น 4 ขั้น

1. ช่วงเป็นไข่ ซึ่งยุงจะไข่ในน้ำ

2. ช่วงเป็นลูกน้ำตัวยาว ( Larva) จะกินสารอินทรีย์ แบคทีเรีย แพลงตอนในน้ำเป็นอาหาร

3. ช่วงเป็นลูกน้ำตัวกลม หรือลูกโม่ง ( Pupa) คือตัวอ่อนของยุงที่พร้อมจะเป็นยุงแล้ว จะไม่กินอาหาร

4. ช่วงที่เป็นยุง (ตัวแมลง)

ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม (swarming) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตของมัน ส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ
ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป
เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับยุงบางชนิดที่ตัวเมียไม่กัดดูดเลือดคนหรือสัตว์เลย
ยุงตัวเมียวางไข่ประมาณ 30-300 ฟองต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของยุงและปริมาณเลือดที่กินเข้าไป ไข่จะมีสีขาวหรือครีมเมื่อออกมาใหม่ ๆ และในเวลาไม่กี่นาทีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำไปจนถึงสีดำ ไข่ยุงมีรูปร่างลักษณะหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิด ยุงลายวางไข่บนวัตถุชื้น ๆ เหนือผิวน้ำ ยุงรำคาญวางไข่ติดกันเป็นแพบนผิวน้ำ ยุงก้นปล่องวางไข่บนผิวน้ำ ส่วนยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มใต้ผิวน้ำติดกับพืชน้ำที่ลอยอยู่ ไข่ยุงส่วนใหญ่ทนต่อคว่อมวามแห้งแล้งไม่ได้ยกเว้นไข่ของยุงลายซึ่งสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้นานหลายเดือน ในเขตร้อนชื้นไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 2-3 วัน
ลูกน้ำของยุงเป็นระยะที่มีความแตกต่างจากตัวอ่อนของแมลงชนิดอื่น มีลักษณะส่วนอกกว้างใหญ่กว่าส่วนหัววและส่วนท้อง เมื่อออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กมากและค่อยๆ โตขึ้น มีการลอกคราบ 4 ครั้ง ก่อนที่จะเป็นตัวโม่ง ลูกน้ำต้องอาศัยอยู่ในน้ำตลอดระยะที่ดำรงชีวิต มีบางชนิดที่ปรับสภาพพัฒนาตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น นสามารถอยู่ได้ในสภาพที่เป็นโคลนเปียก หรือในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูง ลูกน้ำของยุงชนิดต่าง ๆ หายใจจากผิวน้ำโดยผ่านท่อหายใจ (ยุงลายและยุงรำคาญ) หรือรูหายใจ (ยุงก้นปล่อง) แต่ลูกน้ำของยุงเสือมีท่อหายใจที่สามารถสอดดหรือแทงเข้าไปในบริเวณรากของพืชน้ำ โดยเฉพาะพวกจอกและผักตบชวา เพื่อใช้ออกซิเจนจากโพรงอากาศที่อยู่ที่รากหรือลำต้นของพืชน้ำ ลูกน้ำยุงกินอาหารจำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว ยีสต์ สาหร่าย และพืชน้ำที่มีขนาดเล็ก ลูกน้ำยุงก้นปล่องส่วนใหญ่หากินบริเวณผิวน้ำ บางชนิดอาจดำลงไปกินอาหารใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ลูกน้ำยุงลาย
ยุงรำคาญและยุงเสือหากินใต้ผิวน้ำ ลูกน้ำยุงยักษ์กินลูกน้ำชนิดอื่นหรือพวกเดียวกันเองเป็นอาหาร ในเขตภูมิประเทศร้อนชื้นลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงกลายเป็นตัวโม่ง
ระยะตัวโม่ง (pupa) มีรูปร่างคล้ายตัวจุลภาค ( , ) หรือ comma อาศัยอยู่ในน้ำ ตัวโม่งเป็นระยะพักตัวจะไม่กินนอาหาร รับเอาอากาศในการหายใจแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อถูกรบกวนจะดำน้ำลงสู่ข้างล่างใต้น้ำอย่างรวดเร็วและอยู่ใต้น้ำได้นานหลายนาที ตัวโม่งของยุงลายเสือแตกต่างกับชนิดอื่นโดยมีท่อหายใจแหลมสามารถแทงเข้ารากหรือลำต้นพืชน้ำเพื่อหายใจเหมือนกับระยะลูกน้ำ ในภูมิประเทศเขตร้อนตัวโม่งจะใช้เวลา 2-4 วัน ยุงตัวเต็มวัยลอกคราบออกมาไม่กี่นาทีก็สามารถบินได้ ยุงตัวเมียบางชนิดชอบกัดกินเลือดคน philic) บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ (zoophilic) บางชนิดกัดดูดเลือดโดยไม่เลือก ยุงสามารถเสาะพบเหยื่อได้โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น กลิ่นตัว คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ( ที่ออกมาจากลมหายใจ ) หรืออุณหภูมิของร่างกาย

โรคติดต่อนำโดยยุงที่สำคัญในประเทศไทย

  1. โรคมาลาเรีย 
  2. โรคไข้เลือดออก
  3. โรคเท้าช้าง
  4. โรคไข้สมองอักเสบ
ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัดยุง  
การป้องกันยุง กำจัดยุง มีหลายวิธีด้วยกันตามความเหมาะสมของสถานที่นั้นๆ และควรได้รับความร่วมมือในการป้องกันจากเจ้าของสถานที่   ซึ่งวิธีการป้องกัน กำจัด มีหลายวิธีดังนี้

1. วิธีการกำจัดยุงในระยะตัวอ่อน โดยใช้สารเคมีในลงบริเวณที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อกำจัดยุงในระยะตัวอ่อน  
2. การฉีดพ่นสารเคมี เจ้าหน้าที่ให้บริการฉีดพ่นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับป้องกัน กำจัดโดยคำนึงถึงแหล่งหลบซ่อนและบริเวณเกาะพักอาศัย เช่น กำแพง ตามซอก มุม พุ่มไม้และอื่น ๆ  
3. การอบละอองและการพ่นหมอกควัน การใช้สารเคมีผสมกับน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันดีเซล โดยใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน แบบมือถือ   (Portable Themal Fog) หรือการใช้สารเคมีผสมกับน้ำ โดยใช้เครื่องพ่นฝอยละออง (ULV) เพื่อป้องกันกำจัดยุงในบ้านเรือนหรืออาคารสถานที่ในโรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โกดังสินค้า ห้องเก็บของภัตตาคาร บาร์ โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล  ท่อระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง เป็นต้น สำหรับให้บริการพื้นที่ในห้องครัวและโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ควรปกปิดหรือเคลื่อนย้ายอาหาร เครื่องดื่มภาชนะ รวมทั้งพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร เครื่องดื่มนั้น ภายหลังการอบละอองหรือการพ่นหมอกควันและก่อนเริ่มดำเนินการผลิตทุกครั้งควรทำความสะอาดพื้น หลังจากการให้บริการอบละอองหรือการพ่นหมอกควัน ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง  เมื่อพ้นระยะเวลาควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากายถ่ายเท ไม่ควรให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่บริการจนกว่าจะมีการระบายอากาศเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้การให้บริการด้วยการอบละอองและการพ่นหมอกควันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ที่ให้บริการ  
4. การใช้เครื่องดักแมลงหรืออุปกรณ์

กำจัดแมลงวัน

ความรู้เกี่ยวกับแมลงวัน
ถูกจัดอยู่ในอันดับ ORDER DIPTERA ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่อันดับ 4 ของแมลงเป็นแมลงขนาดเล็ก มีปีก 1 คู่ มีลำตัวอ่อนนุ่ม และเป็นแมลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เราสามารถพบแมลงวันได้ทุกแห่งในโลก หลายชนิดพบว่าสามารถดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และหลายชนิดสามารถกัดกินหรือทำลายพืชที่ปลูกทำให้ผลผลิตเสียหาย หลายชนิดสวยงาม บางชนิดมีลวดลายแปลกตา บางชนิดเป็นตัวห้ำ หรือผสมเกสร ดังนั้น แมลงวันจึงมีความสำคัญทางเเกษตรและทางการแพทย์   แมลงวัน มีหลายชนิด เช่น แมลงวันบ้าน แมลงวันหลังลาย แมลงวันหัวเขียว แมลงวันทอง แมลงวันสี แมลงวันกระโดด แมลงวันผึ้ง แมลงวันฉก แมลงวันลาย แมลงวันดอกไม้ แมลงวันหัวหนา แมลงวันก้นขน แมลงวันเขาวัว แมลงวันปากดำ แมลงวันตอมตา ฯลฯ

ชนิดแมลงวั

1.แมลงวันบ้าน

ลักษณะสำคัญ : ตัวเต็มวัยสีเทา มีแถบสีดำ 4 เส้น พาดอยู่ส่วนอกด้านบน หรือ กลางลำตัว ลำตัวยาวตัวประมาณ 1/8-1/4 นิ้ว ตัวหนอนสีขาวครีม หัวแหลมท้ายป้าน ไม่มีขา ไข่มีขนาดเรียวยาว 1 มม. สีขาว

อาหาร :   กินอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งของเสีย

ตัวเมียวางไข่ได้ครั้งละ 100-150 ฟอง และสามารถวางไข่ได้สูงถึง 600 ฟองโดยชอบวางไข่ตามกองขยะที่มีความชื้นสูง หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 6 ชั่วโมง ตัวหนอนลอกคราบประมาณ 3 ครั้ง จากนั้นจะเข้าดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัย ในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

2. แมลงวันหัวเขียว

เป็นแมลงวันที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัว 8-12 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำเงินแกมเขียว เป็นมัน แมลงวันชนิดนี้ชอบอยู่นอกบ้าน บางครั้งอาจตอมอาหารหรือแหล่งที่มีเชื้อโรค ตัวเต็มวัยจะหากินตามแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เล้าเป็ด ไก่กองขยะ ตลาด ซากเน่าเปื่อย มูลสัตว์ ก่อให้เกิดความรำคาญกับสัตว์และอาจนำโรคมาสู่สัตว์

อาหาร :   กินอาหารได้หลายชนิด ของเหลวจากสารอินทรีย์วัตถุ น้ำหวานจากพืช
แมลงวันหัวเขียว ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัย เป็นเวลา อย่างน้อย 10 วัน ตัวเมียวางไข่และ ตัวหนอนอาศัยเจริญเติบโตตามมูลสัตว์

แมลงวัน สามารถนำโรคมาสู่มนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยงได้โดยถ่ายทอดเชื้อโรคที่ติดมากับลำตัว , ปาก หรือขาของแมลง ในขณะที่มันตอมตา ในขณะที่มันตอมอาหาร หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆเมื่อคนรับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม ก็จะได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดโรคต่างๆหลายชนิดเช่น โรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งได้แก่ โรคท้องร่วง, โรคบิด, ไทฟอยด์, พาราไทฟอยด์, อติวาตกโรค, อาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโปลิโอ และไวรัสอื่นๆได้ เช่น โรคตาแดง โรคริดสีดวงตา หรือโรคเยื่อบุตาอักเสบ

แมลงวันที่ใกล้ชิดมนุษย์และเป็นปัญหาสาธารณสุขมากอันดับต้น คือ แมลงวันบ้าน แมลงวันหลังลาย และ แมลงวันหัวเขียว ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธ์อยู่ใกล้ชุมชนตามแหล่งขยะมูลฝอย , มูลสัตว์, ปุ๋ย หรือสิ่งของที่กำลังเน่า โดยแมลงวันสามารถค้นหา หรือตอมอาหารได้ โดยอาศัยสิ่งจูงใจ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแอมโมเนีย และสารระเหยที่เกิดจากสิ่งเน่าเปื่อยผุพัง

แมลงวัน มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ ( COMPLETE METAMORPHOSIS) ประกอบด้วย 4 ระยะ

1. ระยะไข่
แมลงวันสามารถผสมพันธุ์ได้ หลังจากเป็นตัวเต็มวัยได้เพียง 18-30 ชั่วโมงเท่านั้น และผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็จะหาแหล่งที่เหมาะสมในการวางไข่ โดยจะค้นหาแหล่งดังกล่าว โดยอาศัยกลิ่นเป็นตัวนำทาง มันจะเริ่มวางไข่ในที่ลับตา แสงแดดส่องไม่ถึง และมีความชื้นสูง โดยวางเป็นกลุ่มๆละประมาณ 120 ฟอง ตัวเมียบางตัวสามารถวางไข่ได้มากกว่า 10 ครั้งในชั่วชีวิต ดังนั้น แมลงวันตัวเมีย 1 ตัว สามารถขยายพันธุ์ได้ 200-1,000 ฟอง ไข่ แมลงวันมีระยะฟักภายใน 6-12 ชั่วโมง

2. ระยะตัวอ่อน (หนอน)
หรือหนอน มีรูปร่าง เรียวยาว ปลายด้านท้องใหญ่ หัวหรือปากเรียวแหลมและแข็ง ตัวอ่อนจะกินของกำลังเน่าเหม็นมักชอบกลิ่นแอมโมเนีย หรือกลิ่นของยีสต์เป็นพิเศษ ตัวอ่อนจะกินอาหารมากจนเข้าใกล้ระยะดักแด้จึงจะหยุดกินอาหาร ระยะนี้กินเวลา 6-7 วัน

3. ระยะดักแด้
เมื่อหนอนหยุดกินจะเริ่มคลานไปสู่ที่แห้งๆ เพื่อเริ่มปรับเปลี่ยนร่างกาย โดยหดตัวเองให้สั้นลง จนมีลักษณะอ้วนสั้น ผนังลำตัวจะแข็งขึ้นเพื่อห่อหุ้มตัวหนอน ระยะนี้ใช้เวลา 3-4 วัน ก็จะเข้าสู่ระยะตัวโตเต็มวัน

4. ระยะตัวเต็มวัย
เมื่อเข้าดักแด้ และพัฒนาร่างกายสู่ภายในจนมีรูปร่างครบสมบูรณ์ก็จะเริ่มออกจากดักแด้ ซึ่งขณะที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ ยังบินไม่ได้ในทันที จะต้องใช้วิธีเดิน กระโดด เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 15 นาที ลำตัวและปีกเริ่มแข็งแรงขึ้นสมารถบินได้

ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัดแมลงวัน  
การควบคุม ป้องกัน กำจัดแมลงวัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาด และการสุขาภิบาลที่ดี ทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร   
เช่นพื้นที่อาคารโรงงาน บริเวณที่ทิ้งขยะ ตลอดจนถึงถังบรรจุอาหาร และอุปกรณ์ที่ใช้ซึ่งต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ  
วิธีป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี 
1. ใช้สารเคมีฉีดพ่นบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งอาหารของแมลงวันให้ครอบคลุมทั่วบริเวณทั้งหมด ใช้สารเคมีฉีดพ่นบริเวณที่แมลงวันเกาะพักอาศัยอยู่ เช่น คาน , เสา, พุ่มไม้ และอื่น ๆ  
2. ใช้สารเคมีเหยื่อสำเร็จรูปใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อน การจัดวาง ณ บริเวณที่เป็นแหล่งอาหารแมลงวัน  
3. การใช้เครื่องดักแมลงไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ดักแมลงวันต่าง ๆ  

กำจัดแมลงสาบ

ความรู้เ่กี่ยวกับแมลงสาบ
แมลงสาบ   เป็นแมลงดึกบรรพ์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานประมาณ 250 ล้านปี โดยสันนิษฐานจากหลักฐานซึ่งเป็น ฟอสซิล (fossil) ที่ถูกค้นพบ ตามการจำแนกแมลงทางวิทยาศาสตร์แมลงสาบถูกจัดกลุ่มไว้ในชั้น (class) Insicta, อันดับ(order) Orthoptera แต่บางครั้งพบว่าในตำราบางเล่มแมลงสาบอาจจะถูกจัดอันดับ Dictyoptera หรือ Blattodea ก็ได้ ซึ่งการจำแนกที่ แตกต่างกันเหล่านี้เกิดขึ้น จากการใช้ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน มาใช้ในการจำแนก แมลงสาบถูกจำแนกย่อยเป็นวงศ์ (family) ต่างๆกันได้ 5 วงศ์ คือ Blattidae, Blatteidec, Blaberidae, Cryptocercidae และ Polyphagidae จนกระทั่งปัจจุบันนี้ แมลงสาบ ที่พบทั่วโลกมีทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ชนิด  
แมลงสาบ มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะติดไปกับสินค้าจำพวกหีบห่อหรือลังไม้ที่ขนส่งไปทางเรือหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตามยังคงพบ แมลงสาบ ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไป แมลงสาบ ชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ห้องครัวในโรงพยาบาลหรือโรงแรม โกดังเก็บสินค้าทางการเกษตรหรือกระดาษ เป็นต้น  แมลงสาบ ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มืด อบอุ่น และมีความชื้นสูง ลักษณะโดยทั่วไปของ แมลงสาบ มีลำตัวแบนรีเป็นรูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1 ซม. ถึง 8 ซม. มีสีต่างๆกันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้ม หรือสีเขียวก็ได้ โดยทั่วไป แมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวของแมลงสาบมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านส่วนด้านล่างเรียวลง และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็กๆเชื่อมอยู่ แมลงสาบ อาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้  

โดยปกติพวกที่มีปีกเจริญดีจะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งแรงกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ปีกคู่หลังซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆจะซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของ แมลงสาบ จะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แมลงสาบ บางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้น ถึงแม้ว่า แมลงสาบ จะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่า ทั้งนี้จะบินในกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น แมลงสาบ มีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขาของ แมลงสาบ นั้นมีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้ แมลงสาบ วิ่งได้เร็วมาก แมลงสาบ มีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ ซึ่งมีขนเล็กๆจำนวนมากอยู่รอบๆหนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบดักเคี้ยว แมลงสาบ สามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษ หรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบ มีนิสัยชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ก็มี แมลงสาบ บางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน

วงจรของแมลงสาบ

แมลงสาบ มีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ ( Incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิต (life cycle) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg), ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph), และตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยมาก ต่างกันที่ขนาด ปีก และอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น แมลงสาบ วางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายฟอง และจะเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มด้วยสารเหนียวมีลักษณะเป็นแคปซูล หรือกระเปาะ รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว (ootheca) รูปร่างลักษณะของแคปซูลจะแตกต่างกับไปไม่แน่นนอนแล้วแต่ชนิดของ แมลงสาบ แมลงสาบ บางชนิดจะนำกระเปาะไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงปล่อยออกจากลำตัว แต่บางชนิดอาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (parthenogenesis) ก็ได้ ลักษณะ การวางไข่ของ แมลงสาบ แตกต่างกัน บางชนิดจะวางไข่ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจจะวางติดกับฝาผนังบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จำนวนไข่ในแต่ละกระเปาะจะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของ แมลงสาบด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 16/18 ฟอง แต่อาจจะวางได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-6 ชุด แต่บางชนิดอาจวางมากถึง 90 ชุด ก็ได้ อายุของไข่จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น ปกติไข่จะฟักได้เร็วในที่ๆมีอุณหภูมิสูง ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆจะมีสีขาวและไม่มีปีก มีการดำรงชีพแบบอิสระ (free living) เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ใน แมลงสาบ ที่มีปีกเกิดขึ้นมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆอยู่ทางด้านข้างของอกปล้องที่ 2 และ 3 และจะค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเจริญเต็มที่เมือเป็นตัวเต็มวัยแต่บางชนิดก็จะมีลักษณะเป็นติ่งยื่นออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็ตาม บางชนิดก็ไม่มีปีกเลย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของแมลงด้วย เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็จะมีการผสมพันธุ์และการวางไข่เกิดขึ้น หลังจากวางไข่หมดก็จะมีอายุต่อไปได้อีกหลายวัน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานบริการกำจัด มด / แมลงสาบ  
1. เจ้าหน้าที่จะเข้าสำรวจพื้นที่ที่จะทำการบริการอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบดูปัญหามด/แมลงสาบ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเขียนผัง    อาคารอย่างละเอียด และบอกจุดที่เกิดปังหา มด/แมลงสาบ เช่น ที่ชื้นทึบ ท่อน้ำทิ้งต่าง ๆ สนามรอบอาคารที่จะทำบริการ   
2. หลังจากการสำรวจพื้นที่ที่จะทำบริการแล้วเจ้าหน้าที่ของ CPP จะเริ่มปฏิบัติงานบริการโดยการฉีดเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้างตามห้องต่างๆ ของ   อาคารสำนักงาน, โรงงาน หรือ ในจุดที่มีปัญหา มด/แมลงสาบ ที่ได้สำรวจไว้แล้ว พร้อมกับอบด้วย ULV ในจุดที่ชื้นทึบ เช่น ท่อน้ำทิ้งต่างๆ  ห้องเก็บของ, ใต้ถุน หรือในจุดที่สามารถกระทำได้ ตัวเคมีที่ใช้ฉีดและอบนี้จะทำลายไล่มด/แมลงสาบออกจากที่ซุกซ่อนต่าง ๆ  อย่างได้ผลและต่อเนื่อง  
3. ครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่จะเข้าทำการฉีดสเปรย์ด้วยน้ำยาเคมีในกลุ่มของ PYRETHROIDS หรือ เจลกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้าภายในห้องต่างๆ ของอาคารสำนักงาน, โรงงาน บริเวณนอกอาคารสำนักงาน, โรงงานโดยจะเน้นในจุดที่มีปัญหาเป็นจุดสำคัญเพื่อทำลายมด/แมลงสาบ โดยน้ำยา ที่แดจะออกฤทธิ์ภายใน 3-4 นาทีต่อมา และออกฤทธิ์ตกค้างต่อตัวอาคารสำนักงาน, โรงงานประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากที่ฤทธิ์ยาที่ฉีดไปแล้ว  3-4 นาที แมลงต่าง ๆ ที่ไวต่อตัวยานี้จะออกมาตายพร้อมกับมด/แมลงสาบ โดยฤทธิ์ยาที่ติดกับแมลงเหล่านี้จะออกฤทธิ์อย่างช้าๆ เพราะน้ำยา  ที่ใช้ไม่ใช่สารจำพวก “ น็อคดาวน์” คือไม่ตายทันที่แต่จะทำให้มด/แมลงสาบตายอย่างช้าๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยง  และรักษาสภาพแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะภายในบริเวณบริการ

กำจัดมด

ความรู้เกี่ยวกับมด

มด   เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์

วรรณของมด

1. มดราชินี  (queen)
เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย ( female) ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น
2. มดเพศผู้  (male)
เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี
3. มดงาน (worker)
เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “ มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ (แต่เล็กกว่ามดราชินี) อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “ มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

กำจัดปลวก

ความรู้เกี่ยวกับปลวก

ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายลิบล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้จะเริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน ทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยเชื่อมต่อระหว่างผนัง เสา และคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าว เพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

วงจรของปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรังโดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปเป็นวรรณะต่างๆ รวม  3  วรรณะคือ

1. วรรณะสืบพันธ์ หรือแมลงเม่า
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และกระจายพันธุ์โดยจะบินออกจากรังเมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เพื่อจับคู่กันและจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่
2. วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน
เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวลไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าทีเกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและทหารซึ่งไม่หาอาหารกินเองนอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
3. วรรณะทหาร
ป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้ม และแข็งมีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดับแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายเหลมคมเพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศบางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อย หรือพ่นไปติดตัวศัตรูทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้

นิเวศวิทยาของปลวก

สภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพทางนิเวศวิทยา รวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวกแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้างๆเป็น 2  ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักได้ ดังนี้

1. ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้
ปลวกชนิดนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยมีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับพื้นดินเลย ลักษณะทั่วไปที่บ่งชี้มีปลวกในกลุ่มนี้เข้าทำลายไม้คือ วัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรีอยู่ภายในเนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรง หรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้ เราอาจแบ่งปลวกประเภทนี้ เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกตามลักษณะความชื้นของไม้ที่ปลวกเข้าทำลาย ดังนี้
 1.1 ปลวกไม้แห้ง ( Dry-wood termites )
  ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ที่มีอายุใช้การมานานลีความชื้นต่ำ โดยปกติมักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็กๆกองอยู่บนพื้นบริเวณโคนเสาฝาผนัง หรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำ
ลายไม้เฉพาะภายไนชิ้นไม้โดยเหลือชิ้นไม้ด้านนอกเป็นฟิล์มบางๆไว้ ทำไห้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี
1.2 ปลวกไม้เปียก ( Damp-Wood termites )
  ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอยู่ในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มตายที่มีความชื้นสูง
2. ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน
ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดิน แล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดินหรือเหนือพื้นดินขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินดินห่อหุ้มตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น และ หลบซ่อนตัวจากศัตรูที่จะมารบกวน จำแนกเป็น 3 พวก คือ
 2.1ปลวกใต้ดิน ( Subterranean termites )
 เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น ปลวกในสกุล  Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes  และ  Hypotermes  เป็นต้น
 2.2 ปลวกที่อาศัยอยู่ตามจอมปลวก ( Mound-building termites )
 เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดินเช่นปลวกในสกุล  Globitermes, Odontotermes  และ Macrotermes  เป็นต้น
 2.3 ปลวกที่อาศัยอยู่ตามรังขนาดเล็ก( Carton nest termites )
 เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่นๆ ภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล  Microcerotermes, Termes, Dicuspiditermes, Nasutitermes  และ Hospitalitermes  เป็นต้น
แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเป็น  4  ประเภท คือ
1. ไม้ ( wood )

2. ดินและฮิวมัส ( Soil and Moss )

3. ใบไม้และเศษซากพืชที่ทับถมอยู่บนพื้นดิน ( Lave and litter )

4. ไลเคนและมอส (  Lichen and Moss  )

ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุ อื่นๆ ที่มีเซลลูโลส เป็นองค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียวคือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือมีจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย และเชื้อราในปลวกชั้นสูงซึ้งจะทำหน้าที่ช่วงในการย่อยอาหารประเภทเซลลูโลส หรือสารประกอบอื่นๆให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก